สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย
**********************************
2.1 สภาพทั่วไป
2.1.1 ที่ตั้งและขนาด
ตำบลบ้านค่าย
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 319 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 13 กิโลเมตร
ห่างจากอำเภอเมืองชัยภูมิ ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้นจำนวน 42.905
ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน
26,815.66 ไร่
อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว ทั้งสิ้นจำนวน 5.344 ตารางกิโลเมตร
หรือจำนวน 3,340 ไร่
อยู่ในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย ทั้งสิ้นจำนวน 37.561
ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน
23,475.66 ไร่ (1 ตร.กม. : 625 ไร่) (ที่มา : แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย
พ.ศ.2542 และแผนที่ชุดดินตำบลบ้านค่ายฯ
กรมพัฒนาที่ดิน 24 ก.ค. 2545)
2.1.2 อาณาเขต ตำบลบ้านค่าย
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองท้องถิ่น
ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองนาแซง
, ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ
และตำบลชีลอง อำเภอบ้านเขว้า
จังหวัดชัยภูมิ
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกะฮาด อำเภอเนินสง่า
จังหวัดชัยภูมิ
และตำบลบ้านเหลื่อม อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองไผ่ , ตำบลโนนสำราญ อำเภอเมืองชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลกะฮาด อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
คำขวัญของตำบลบ้านค่าย
“ถิ่นข้าวโพดหวาน บ้านช้างแสนรู้ เจดีย์ธาตุชัยภูมิมินทร์คู่บ้าน ตำนานบ้านค่ายทัพเจ้าพ่อพระยาแล”
2.1.3 ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลบ้านค่ายประกอบไปด้วยพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำชี
โดยมีแม่น้ำชีเป็นแม่น้ำสายหลักขนาบด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ของตำบลบ้านค่าย ความยาวของลำน้ำประมาณ 25 กม. ทำให้ช่วงเดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกายน ของทุกปีประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก
และลักษณะที่ราบสูงทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรประสบภัยแล้ง
ฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม ของทุกปี
2.1.4 เขตการปกครอง และจำนวนประชากร
ตำบลบ้านค่าย เป็น 1 ใน 18 ตำบลในเขตปกครองอำเภอเมืองชัยภูมิ
มีการปกครองส่วนท้องที่ 12 หมู่บ้าน แบ่งเขตการปกครองส่วนออกเป็น 2 ส่วน คือ เทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว
และองค์การบริการส่วนตำบลบ้านค่าย ซึ่งมีพื้นที่ในส่วนที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสิ้น 10
หมู่บ้าน
ประชากรในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย (ข้อมูลจากสำนักบริหารงานทะเบียน
กรมการปกครอง ณ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2557) มีจำนวนทั้งสิ้น 7,647 คน แยกเป็นเพศชาย 3,815 คน เพศหญิง 3,832 คน ดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
ผู้ใหญ่บ้าน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
2
|
บ้านวังก้านเหลือง
|
196
|
332
|
358
|
690
|
นายสมชาย
|
ไตรทิพย์
|
3
|
บ้านท่าหว้า
|
378
|
631
|
584
|
1,215
|
นายประภาส
|
รักษ์มณี
|
4
|
บ้านโค้งขนัน
|
306
|
577
|
577
|
1,154
|
นายจารุพงษ์
|
ฤทธิ์กำลัง
|
5
|
บ้านโค้งน้ำตับ
|
280
|
478
|
473
|
951
|
นายบรรจบ
|
รวดชัยภูมิ
|
6
|
บ้านกุดเวียน
|
239
|
488
|
491
|
979
|
นางเกลี้ยง
|
รานอก
|
7
|
บ้านแก้งจิก
|
83
|
155
|
152
|
307
|
นายธาดา
|
พรสวัสดิ์
|
8
|
บ้านเสี้ยวน้อย
|
157
|
283
|
298
|
581
|
นายจอมศรี
|
งอกศิลป์
|
9
|
บ้านโค้งยางพัฒนา
|
24
|
48
|
54
|
102
|
นายสุพจน์
|
หมั่นคำ
|
11
|
บ้านท่าหว้า
|
201
|
307
|
317
|
624
|
นางสมสุข
|
เนตรวิทยานนท์
|
12
|
บ้านโค้งน้ำตับประชารักษ์สามัคคี
|
271
|
516
|
528
|
1,044
|
นายประสิทธิ์
|
เริงอาจ
|
|
รวม
|
2,135
|
3,815
|
3,832
|
7,647
|
|
|
2.2 สภาพทางเศรษฐกิจ
2.2.1 อาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลบ้านค่ายประกอบอาชีพในภาคเกษตรเป็นหลักและมีอาชีพรอง คือ
การทำไร่ ค้าขาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน
2.2.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
- อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ใช้ทุนประกอบกิจการน้อย ได้แก่
- ร้านผลิตโลหะ
|
3
|
แห่ง
|
- โรงสีข้าว
|
11
|
แห่ง
|
-
โรงงานทำเส้นขนมจีน
|
3
|
แห่ง
|
-
โรงเรือนทำหีบศพและผลิตเครื่องสังฆภัณฑ์
|
3
|
แห่ง
|
- กลุ่มทอผ้า
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
|
|
|
- การพาณิชย์และบริการ
- ร้านขายก๋วยเตี๋ยว
|
9
|
แห่ง
|
- ร้านค้า
|
55
|
แห่ง
|
- ร้านซ่อมรถ
|
16
|
แห่ง
|
-
ปั้มน้ำมัน (ปั้มหลอด)
|
1
|
แห่ง
|
-
ปั้มน้ำมัน
|
2
|
แห่ง
|
- ร้านเสริมสวย
|
6
|
แห่ง
|
-
ร้านคอมพิวเตอร์/ถ่ายเอกสาร/เกมส์
|
3
|
แห่ง
|
-
โรงงานรับซื้อของเก่า(ขนาดเล็ก)
|
1
|
แห่ง
|
- ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
|
1
|
แห่ง
|
- ร้านจำหน่ายปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ
|
1
|
แห่ง
|
- บ้านเช่า
|
1
|
แห่ง
|
- โรงงานผลิตอิฐบล็อค
อิฐประสาน
|
1
|
แห่ง
|
-ร้านทำเหล็กดัด
|
1
|
แห่ง
|
2.3 สภาพสังคม
2.3.1 การศึกษา
-
โรงเรียนมีจำนวน 4 แห่ง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยเปิดสอนระดับชั้นอนุบาล
ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และโรงเรียนขยายโอกาส 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชน 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 2 แห่ง
- ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 1 แห่ง
- ศูนย์สาธิตการตลาด 2 แห่ง
- ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตตำบล 1 แห่ง
2.3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 6 แห่ง
2.3.3 สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักมีขายตามร้านค้าในหมู่บ้าน
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 เปอร์เซ็นต์
2.3.4 การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ศูนย์อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
(อปพร.) 1 แห่ง
- อปพร.ทุกหมู่บ้าน และได้ผ่านการอบรมแล้ว 136 คน
- ถังดับเพลิง 60 ถัง
- จุดตรวจในชุมชน 9 แห่ง